Search
Search
Close this search box.

Cloud หรือ Cloud Computing

ในเทคโนโลยีปัจจุบันมากมายคุณคงเคยได้ยินชื่อของ Cloud ผ่านหูมาบ้างแล้ว และคุณเคยสงสัยกันมั้ยว่าแท้จริงแล้วมันทำงานอย่างไร อะไรคือเบื้องหลังของระบบ Cloud ที่เราพูดถึงกัน และในบทความนี้เราจะมาเริ่มจากพื้นฐานก่อนว่า Cloud มีกี่ประเภท และ Cloud Service Models มีอะไรบ้าง ก่อนอื่นเราต้องทราบความหมายของ Cloud ก่อนว่ามันคืออะไร

Cloud คือ รูปแบบการให้บริการใช้งานหรือเช่าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์หรือทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยให้บริการทั้งในส่วน Hardware และ Software รวมถึงทรัพยากรพื้นที่จัดเก็บและหน่วยประมวลผลซึ่งสามารถเลือกได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน เบื้องหลังการทำงานเหล่านี้คือเทคโนโลยี Virtualization ที่มีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรใช้งานได้มากกว่าระบบการทำงานเดิมและยังสามารถกระจาย Data Center และขยายการให้บริการได้อีกด้วย และด้วยความสามารถนี้ทำให้ Virtualization ถูกมาประยุคใช้งานเป็นบริการ Cloud หรือ Cloud Computing ในปัจจุบัน โดย Cloud นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

  1. Private Cloud การให้บริการ Cloud ที่อยู่ในรูปแบบของ Private ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานภายในองค์กรที่มีการติดตั้ง Data Center ไว้ภายในองค์กร ซึ่ง Private Cloud จะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเนื่องจากมีการจำกัดการเข้าใช้งานสำหรับคนในองค์กรเท่านั้น แต่ข้อเสียคือลำบากต่อการ Scale-out ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
  • Public Cloud การให้บริการ Cloud ที่อยู่ในรูปแบบของ Public จะเป็นประเภทที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบันออกแบบมาสำหรับให้เช่าบริการที่ผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนเช่าได้อย่างอิสระ มีความสะดวกและง่ายในการบริหารจัดการ สามารถ Scale-out ได้ตลอดเวลาและประหยัดกว่าการติดตั้ง Data Center ไว้ภายในองค์กร แต่ไม่ค่อยเหมาะสำหรับบางองค์กรที่ห่วงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่จะต้องอยู่ภายในองค์กรเท่านั้น
  • Hybrid Cloud การให้บริการ Cloud ที่อยู่ในรูปแบบของ Hybrid เป็นการผสมผสานระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud ที่รวมจุดเด่นของทั้ง 2 ประเภทมาไว้ โดยมีความสามารถด้านการจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กรได้และยังสามารถ Scale-out ได้ แต่การใช้งาน Hybrid Cloud นั้นจะมีความยุ่งยากมากกว่า 2 ประเภทก่อนหน้านี้เนื่องจากจะต้องจัดการข้อมูลในส่วนของ Data Center ให้ทำงานร่วมกับระบบที่อยู่บน Public Cloud จึงทำให้ระบบมีความซับซ้อนมากกว่า Cloud ประเภทอื่น ๆ

นอกเหนือจากประเภทของ Cloud แล้ว Cloud ยังสามารถจำแนกการให้บริการได้โดยรูปแบบของ Service Models อีกด้วย โดย Cloud Service Models ก็จะแบ่งออกมาได้เป็น 3 Models ได้แก่

1. SaaS   (Software as a Service) บริการ Software ผ่านระบบ Internet โดยที่ผู้ให้บริการจะให้ Software ทำงานผ่าน Cloud และผู้ใช้สามารถเข้าใช้งาน Software ได้โดยตรงผ่านระบบ Internet จากที่ใดก็ตาม การบริการรูปแบบนี้เราจะเจอได้ทั่วไปจากระบบ email ต่าง ๆ เช่น Gmail , Outlook เป็นต้น รวมถึงบริการ Software ที่เป็นลักษณะ Google Sheet หรือ Doc อีกด้วย

2. PaaS (Platform as a Service) บริการด้าน Platform สำหรับนักพัฒนาระบบซึ่งทางผู้ให้บริการจะมีการเตรียม Platform หรือชุด Program หรือชุดคำสั่งสำเร็จรูปไว้ เพื่อให้นักพัฒนาระบบสามารถสร้างหรือทดสอบ Software ของตัวเองได้ เช่น AWS Elastic Beanstalk หรือ Google App Engine เป็นต้น

3. IaaS (Infrastructure as a Service) บริการในส่วนของ Infrastructure ของระบบโดยจะให้บริการครอบคลุมถึงส่วนการจัดการระบบตั้งแต่การกำหนดทรัพยากรของ Server การเข้าถึง Storage การกำหนด OS ไปจนถึงการออกแบบระบบ Network หรืออุปกรณ์ Security อย่าง Firewall โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี Hardware ติดตั้งไว้ที่องค์กรเลย มีความยืดหยุ่นสูงและง่ายต่อการดูแลระบบ ตัวอย่างผู้ให้บริการที่เป็น IaaS มีตั้งแต่ Google Compute Engine, Microsoft Azure เป็นต้น หรือการใช้บริการเช่าพื้นที่จัดเก็บต่าง ๆ เช่น Onedrive, iCloud หรือ Dropbox ก็อยู่ในรูปแบบ Models Service แบบ IaaS เช่นกัน

สรุป

Cloud หรือ Cloud Computing ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันก็เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อสำหรับตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จำนวนมากที่มีการเติบโตของธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้หรือองค์กรจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนมากมาย การใช้งานออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากในยุคปัจจุบัน ความสะดวกที่สามารถดูแลระบบได้ทุกที่และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา สามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ Cloud จึงเป็นคำตอบของหลาย ๆ องค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคปัจจุบัน และอนาคต

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

Share:

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

Network365 Co,Ltd. website uses cookies to give you the very best experience. Cookies also help us understand how our website is being used. If you continue without changing these settings on your browser, you consent to our Cookie Privacy Policy.